ต้นชบา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus rosa sinensis.
ชื่อสามัญ : Shoe Flower, Hibiscus และ Chinese Rose
วงศ์ : MALVACEAE
ชื่อเรียกอื่นๆ : ชุมเบา (ปัตตานี), ใหม่, ใหม่แดง (ภาคเหนือ) และ บา (ภาคใต้)
ชื่อสามัญ : Shoe Flower, Hibiscus และ Chinese Rose
วงศ์ : MALVACEAE
ชื่อเรียกอื่นๆ : ชุมเบา (ปัตตานี), ใหม่, ใหม่แดง (ภาคเหนือ) และ บา (ภาคใต้)
ชบาเป็นราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน (Queen of Tropic Flower) และยังจัดเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย จาไมก้า รวมไปถึงรัฐฮาวาย ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาทัดหูหรือแซมผม ต้นชบานิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วเพื่อชมดอกและนอกจากจะให้ความสวยงามแล้วยังปลูกง่าย แข็งแรงและตายยากอีกด้วย ประโยชน์ดอกชบาสามารถนำมาใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าโดยจะให้สีดำ เพราะในอดีตมีการนำมาใช้ย้อมผม ย้อมขนตา หรือนำไปทารองเท้า ไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นประโยชน์ ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก และที่สำคัญใบชบาช่วยบำรุงผมให้ดกดำเงางาม และใช้สระผมจะช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกและช่วยบำรุงผมด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 2-4 ม. ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน ส่วนเปลือกนั้นจะเหนียวมาก เป็นเมือกลื่น
ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 2-4 ม. ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน ส่วนเปลือกนั้นจะเหนียวมาก เป็นเมือกลื่น
ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 5-9 ซม. ยาว 7-12 ซม. โคนใบมนหรือกว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบหยักมนหรือ จักฟันเลื่อยหรือเว้าเป็น 3 พู แผ่นใบบาง สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 2-4 ซม. มีหูใบแบบ free lateral stipule


ผล ผลเดี่ยวแบบ capsule สีน้ำตาล เมื่อแก่จะแห้งและแตกเป็น 5 แฉก
การปลูก
ชอบแสงแดดมาก ต้องการน้ำพอประมาณ
เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียก
หรือแฉะเกินไป ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ การปักชำ การเสียบยอด การติดตา
โรคและแมลง
- โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน
โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ
- แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่
แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยง จากใบและกิ่งก้าน นอกจากนี้ยังมี หนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง
- สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก
กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก
สรรพคุณทางยาและประโยชน์
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว – นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
- ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
- ดับร้อนและแก้ไข้ – ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
- รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต – ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
- รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก – ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
- บำรุงผม – ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม
อ้างอิง
https://thiwarad.wordpress.com/abou
http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/interactive_key/key/describ/chaba.htm
http://www.ecarddesignanimation.com/home/tree_9.php
https://5a23256.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น