วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผักกาดหัว

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผักกาดหัว

ไชเท้านึ่งกับชิเมจิย่างทะเล




วัตถุดิบ


 ส่วนของเนื้อสัตว์ และผัก
1. ไชเท้า 1 ท่อน เลือกท่อนใหญ่พอที่จะทำถ้วยได้
2. เห็ดชิเมจิ 2 สี รวมกันประมาณ 60 กรัม
3. หอยแมลงภู่นิวซีแลนด์ 3 ตัว
4. ปลาดอร์ลี่ 3 ชิ้น
5. กุ้ง 3 ตัว
6. ผัก 3 สี แครอท ถัวลันเตา ข้าวโพด


ส่วนเครื่องปรุง

1. เกลือ ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
2. น้ำตาล ประมาณ หยิบมือ
3. พริกไทยป่น ประมาณ ปลายช้อนชา
4. น้ำจิ้มสุกี้ ตามชอบ
5. น้ำมันงา 1 ช้อนโต๊ะ
6. เหล้าจีน 1 ช้อนโต๊ะ
7. น้ำซุป ประมาณ 2-3 ถ้วย หรือพอที่จะท่วมหัวไชเท้า


วิธีทำ

1. นำหัวไชเท้า มาแกะเป็นถ้วย ตามคลิปวีดีโอ นำใส่ถ้วย เติมน้ำซุปจนท่วม เติมเกลือ 1 หยิบมือ น้ำตาลทราย 1 หยิบมือ พริกไทยป่นเล็กน้อย น้ำมันงา และน้ำไปนึ่งจนสุก
2. ตั้งกระทะกับน้ำมันจนร้อน ใส่เห็ดลงย่าง โรยเกลือ พริกไทย เหล้าจีน พักไว้
3. นำหอย ปลา กุ้ง ลงย่าง และนำขึ้นมาโรยด้วยเกลือ พริกไทยเล็กน้อย
4. จัดเสิร์ฟตามคลิปวีดีโอนะครับ เสริฟกับน้ำจิ้มสุกี้




****ราคาขาย
- ขายเป็นจาน จานละ 100-200 บาท


ประโยชน์ของผักกาดหัว

ราก : รสชุ่ม เย็น ละลายเสมหะ แก้พิษ ท้องอืดแน่นเนื่องจากกินมากเกิน เสมหะมากไม่มีเสียง อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด กระหายน้ำ บิด และปวดหัวข้างเดียว รากทำให้สุก ใช้เป็นยาระบาย สมานลำไส้ บำรุงม้าม ขับเสมหะ เรียกน้ำลาย แก้คันและบำรุงเลือด
เมล็ด : รสเผ็ด ชุ่ม เย็น เมล็ดคั่วแล้วมีรสเผ็ด ชุ่ม สุขุม ใช้เป็นยาระบาย ระงับอาการหอบ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ แก้ไอหอบมีเสมหะมาก ท้องอืดแน่น บิด และแก้บวม
ใบ หรือทั้งต้น : รสเผ็ด ขม สุขุม ทำให้เจริญอาหาร แก้ท้องเฟ้อเรอเปรี้ยว ท้องอืดแน่น อาหารไม่ย่อย บิด ท้องร่วง เจ็บคอ ต่อมน้ำนมบวม และน้ำนมคั่ง
ใบสด : คั้นเอาน้ำทา แก้ผิวหนังเป็นผื่นคันมีน้ำเหลือ

อ้างอิง:  http://m.foodtravel.tv/recipe.aspx?viewid=2291









วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สวนพฤกษาศาสตร์โรงเรียนกระสังพิทยาคม

ต้นชบา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa sinensis.
ชื่อสามัญ Shoe Flower, Hibiscus และ Chinese Rose
วงศ์ : MALVACEAE
ชื่อเรียกอื่นๆ : ชุมเบา (ปัตตานี), ใหม่, ใหม่แดง (ภาคเหนือ) และ บา (ภาคใต้)




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นชบา

    ชบาเป็นราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน (Queen of Tropic Flower) และยังจัดเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย จาไมก้า รวมไปถึงรัฐฮาวาย ซึ่งเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการนำมาทัดหูหรือแซมผม ต้นชบานิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วเพื่อชมดอกและนอกจากจะให้ความสวยงามแล้วยังปลูกง่าย แข็งแรงและตายยากอีกด้วย ประโยชน์ดอกชบาสามารถนำมาใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าโดยจะให้สีดำ เพราะในอดีตมีการนำมาใช้ย้อมผม ย้อมขนตา หรือนำไปทารองเท้า ไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นประโยชน์ ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก และที่สำคัญใบชบาช่วยบำรุงผมให้ดกดำเงางาม และใช้สระผมจะช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกและช่วยบำรุงผมด้วย


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
     ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 2-4 ม. ลำต้นเป็นไม้เนื้ออ่อน ส่วนเปลือกนั้นจะเหนียวมาก เป็นเมือกลื่น






     ใบ ใบเรียงสลับ ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 5-9 ซม. ยาว 7-12 ซม. โคนใบมนหรือกว้าง ปลายใบแหลม ขอบใบหยักมนหรือ จักฟันเลื่อยหรือเว้าเป็น 3 พู แผ่นใบบาง สีเขียวเข้ม ก้านใบยาว 2-4 ซม. มีหูใบแบบ free lateral stipule 






      ดอก  ดอกเดี่ยวออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกชั้นเดียวถึงดอกซ้อน เส้นผ่านศูนย์กลาง 7-15 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ มีสีต่างๆ เช่น แดง ชมพู ส้ม ขาว เหลือง ปลายกลีบดอกมนและกลม ก้านเกสรเพศเมียและเพศผู้เชื่อมกันเป็นหลอดยาว โผล่พ้นกลีบดอก



      ผล ผลเดี่ยวแบบ capsule สีน้ำตาล เมื่อแก่จะแห้งและแตกเป็น 5 แฉก


      การปลูก
ชอบแสงแดดมาก ต้องการน้ำพอประมาณ เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียก หรือแฉะเกินไป ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
    การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ การปักชำ การเสียบยอด การติดตา
    โรคและแมลง
- โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ
- แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย ดูดน้ำเลี้ยง จากใบและกิ่งก้าน นอกจากนี้ยังมี หนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง
- สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก

สรรพคุณทางยาและประโยชน์
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว – นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
  • ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
  • ดับร้อนและแก้ไข้ – ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
  • รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต – ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
  • รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก – ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
  • บำรุงผม – ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

อ้างอิง

 https://thiwarad.wordpress.com/abou

http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/interactive_key/key/describ/chaba.htm

http://www.ecarddesignanimation.com/home/tree_9.php


https://5a23256.wordpress.com






วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัว นางสาวมาริษา เกือกรัมย์


ชื่อ นางสาวมาริษา  เกือกรัมย์  ชื่อเล่น กิ๊ฟ
ชั้น มัธยมศีกษาปีที่ 6/2 เลขที่ 8
สัญชาติ ไทย
วัน/เดือน/ปี เกิด  17/07/2540 
กรุ๊ปเลือด  โอ
ศาสนา      พุทธ
ภูมิลำเนา   บ้านหว้า  ตำบลหนองเต็ง  อำเภอกระสัง  จังหวัดบุรีรัมย์  31160
การศึกษา       ประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวัดชุมพลมณีรัตน์
                        ประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดชุมพลมณีรัตน์
                        มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนกระสังพิทยาคม
                        มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนกระสังพิทยาคม
ครูที่ปรีกษา     1.นายธีรภัทร์  สัตตารัมย์
                         2.นายวรภัทร  นนท์ศิริ
วิชาที่ชอบ         เคมี  
วิชาที่ไม่ชอบ    อังกฤษ  
สีที่ชอบ            แดง
อาหารที่ชอบ    ต้มยำกุ้ง
กีฬาที่ชอบ     ฟุตบอล
งานอดิเรก      นอน   ดูโทรทัศน์
เพลงที่ชอบ    ใจน้อย  
อาชีพในอนาคต     เภสัชกร
มหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อ            มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะที่ต้องการศึกษาต่อ          คณะเภสัชศาสตร์
คติประจำใจ  ทำดีได้ดี  ทำชั่วก็ได้ดี
E-mail  kueakram.mk@gmail.com
Facebook  Gift Marisa
แผนที่บ้าน



ภาพเพื่อนๆ 6/2


ภาพกิจกรรมที่ประทับใจ